Solar Light ลองใช้ไฟฟรีแบบง่ายๆ

โซลาร์เซลล์( Solar Cell) ที่เรียกกันติดปาก เวลาคุยถึงระบบการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าเพาเวอร์ (Solar Power) เพื่อให้พลังงานไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัย กำลังเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางแรงจูงใจจาก “ใช้ไฟฟรี” เช่น “เปิดแอร์โดยไม่ต้องจ่ายค่าไฟแพง” แต่ยังมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการติดตั้ง ค่าใช้จ่าย การบำรุงรักษา ฯลฯ บทความนี้เป็นโซลูชั่นเริ่มต้น (Starter) จะแนะนำการประยกต์ใช้ Solar Light เพื่อให้แสงสว่างในบ้านในช่วงกลางคืน ถือเป็นโซลูชั่นที่ Quick Win ในการประยุกต์ใช้ระบบ Solar Power ในบ้านครับ

Solar Light (โซลาร์ไลท์) จะมาแทนโคมไฟแสงสว่างที่ให้แสงช่วงกลางคืนของบ้านพักอาศัย มีระบบช่วยการเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ จะเปิดเพื่อให้แสงสว่าง ตอนกลางคืน เช่น เมื่อยังกลับมาไม่ถึงบ้าน หรือ เมื่อเวลาไม่อยู่บ้านหลายวัน และจะปิดให้อัตโนมัตเมื่อมีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน

ในอดีตการทำระบบไฟแสงสว่างอัตโนมัติแบบนี้ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ต้องการช่างมีอาชีพมาติดตั้งเซนเซอร์จับแสงจากดวงอาทิตย์เพื่อเปิด-ปิดไฟแสงสว่างเวลาไม่อยู่บ้านเพื่อไม่ให้บ้านไม่ดูมืดเกินไปเป็นเป้าสายตาที่เปลี่ยนความหมายจาก “เจ้าของบ้านไม่อยู่นาน…” กลายเป็น “บ้านนี้มีการดูแลนะ”

Solar Light ทำให้การดูแลบ้านในเรื่องของแสงสว่าง ช่วงค่ำคืน เป็นเรื่องง่าย จากการติดตั้งเพียงครั้งเดียว อีกทั้ง Solar Light ยังมีอายุการใช้งานนาน เกิน 3 ปี ทนแดด ทนฝน ด้วยมาตรฐาน IP66 กันฝุ่น กันน้ำ ทั้งอุปกรณ์ และ สายไฟ ซื้อมาใช้ติดตั้งแล้วไม่ต้องการดูแลรักษา (ปล่อยได้เลย)

Solar Light มีส่วนประกอบของอุปกรณ์หลักๆ เพียง 3 อย่าง คือ โคมไฟ,สายไฟ และ แผงรับแสงอาทิตย์
ส่วน Remote ที่ใช้สำหรับควบคุมจะใช้ไม่บ่อยนัก ถ้าติดตั้งให้ทำงานเปิด-ปิด อัตโนมัติตามแสงอาทิตย์ก็หลังจากติดตั้งแล้วก็เก็บ Remote ได้เลย (ไม่ได้ใช้)

การติดตั้งสามารถทำได้เอง ง่าย ๆ ด้วยการนำโคมไฟไปวาง หรือ ยึดกับจุดที่ต้องการให้แสงสว่าง เช่น ริมรั้ว ใต้หลังคากันสาด ทางเดินในสวน ฯลฯ ส่วนแผงรับก็วางในจุดที่มีแสงอาทิตย์ส่องถึงได้มากที่สุดในแต่ละวันการยึดโคมไฟอาจใช้ Cable Tie (ชั่วคราว) หรือ การยึดกับน๊อตที่เจาะลงไปในผนังด้วยพุก) เมื่อกำหนดจุดติดตั้งที่แน่นอนได้แล้ว

ข้อควรระวังในการติดตั้ง คือ การให้แสงส่งไปในทิศทางที่ต้องการให้แสงสว่างภายในบ้าน ไม่ส่องไปในพื้นที่ของเพื่อนบ้าน หรือ ส่องตา ที่อาจจะสร้างความรำคาญให้กับเพื่อนบ้าน เนืองจากรูปแบบของ Solar Light จะเป็นไฟ Spot Light ที่แยงตาหากไม่ส่องลงพื้น การติดตั้งพิจารณาในเรื่องความเกรงใจต่อเพื่อนบ้านด้วย ถ้าเป็นบ้านสวนที่ห่างจากบ้านของเพื่อนบ้านมากๆ คงไม่ห่วงประเด็นเหล่านี้มากนัก

ส่วนในด้านข้อเสียก็เห็นจะเป็นเรื่องของการติดตั้งแผงรับแสงอาทิตย์ที่บางครั้งอยู่ในจุดที่ไม่สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ตลอดวันก็อาจจะทำให้ Solar Light ให้แสงสว่างไม่ยาวนานตลอดทั้งคืน กรณีนี้จะต่างกับระบบบบ Solar Power เต็มระบบอย่างชัดเจน เพราะการติดตั้ง Solar Power แบบเต็มรูปแบบจะติดตั้งแผง Solar Cell บนหลังคาบ้าน หรือ ตำแหน่งที่แผง Solar Cell รับแสงอาทิตย์ได้ที่ดีที่สุด แล้ว ลากสายไฟไปยังจุดต่าง ๆที่จำเป็นต้องใช้อีกที

การเลือกซื้อมักจะมีคำถามว่า “จะเลือกขนาดกี่วัตต์ดี ?” ขอแนะนำให้ลองซื้อขนาดและราคาที่พอจ่ายได้เช่น 300-500 บาท มาใช้ดูก่อนเช่น Solar Light ที่จำหน่ายในท้องตลาดมีตั้งแต่การให้แสงสว่างที่ 10W – 300W การให้แสงสว่างมากน้อยตามความต้องการที่แท้จริง ขึ้นกับขนาดสถานที่และ การติดตั้ง นี่ยังไม่รวมปัจจัยเกี่ยวกับคุณภาพของตัวสินค้า (อาจจะให้แสงสว่างไม่ตรงกับสเปคข้างกล่อง) จำเป็นต้องเลือก เปรียบเทียบ และสำคัญที่สุดคือลองใช้จะทำให้เข้าใจมากขึ้นครับ

อ่านมาถึงตรงนี้หวังว่าจะได้ข้อมูลและไอเดียการใช้ Solar Power จากในการประยุกต์ใช้ Solar Light ในบ้านกันแล้วแอดมินหวังว่าผู้อ่านจะนำไปลอง และสนุกกับการดูแล ปรับปรุงบ้านที่รักได้จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *